Part of Speech คืออะไร ทำความเข้าใจวิธีการใช้คำในภาษาอังกฤษ
ในการเรียนภาษาอังกฤษนั้นมีหนึ่งในไวยากรณ์ที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ “Part of Speech” หรือประเภทหน้าที่ของคำในภาษาอังกฤษ ซึ่งการที่เรารู้จักหน้าที่ของ Part of Speech แต่ละชนิดว่าใช้ในบริบทไหน ต้องใช้เมื่อไหร่ ก็จะทำให้การสื่อสารและการเรียนภาษาอังกฤษนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากยิ่งขึ้น
สำหรับใครที่กำลังสงสัย มาทำความรู้จักกับ Part of Speech อย่างละเอียดกันว่าคืออะไร แต่ละประเภทมีหลักการใช้อย่างไรในรูปประโยคกั
Part of Speech คืออะไร สำคัญยังไงในการเรียนภาษาอังกฤษ
Part of Speech คืออะไร มีอะไรบ้าง? Part of Speech คือ หน้าที่และประเภทของคำ ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีหลักการใช้ว่าทำหน้าที่อะไร ต้องอยู่ส่วนไหนของประโยค การใช้ Part of Speech ให้ถูกประเภทนั้นจะช่วยให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อได้โดยไม่ผิดเพี้ยน หรือเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับประโยคมากขึ้น
นอกจากนี้แล้ว การที่รู้จักการใช้ Part of Speech จะช่วยพัฒนาในเรื่องทักษะภาษาอังกฤษได้ โดยเฉพาะทักษะการเขียนซึ่งมักจะต้องใช้อยู่บ่อย ๆ เช่น ในการสอบเรียนต่อ หรือการเขียนเรซูเม่ภาษาอังกฤษสมัครงาน รวมถึงในเรื่องทักษะการสื่อสารที่ลื่นไหลอีกด้วย ดังนั้นหากใครอยากเก่งภาษาอังกฤษ Part of Speech ก็เป็นหลักไวยากรณ์ที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากเช่นกัน
8 ประเภทของ Part of Speech มีอะไรบ้าง วิธีใช้พร้อมตัวอย่างประโยค
ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจว่าแต่ละหน้าที่ของ Part of Speech มีอะไรบ้างนั้น เราจะมาแนะนำกันก่อนว่า Part of Speech มีกี่ประเภท
หน้าที่และประเภทของคำหรือ Part of Speech นี้จะมีทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่ Noun, Pronoun, Verb, Adjective, Adverb, Preposition, Conjunction และ Interjection ซึ่งรายละเอียดของ Part of Speech 8 ชนิดเหล่านี้จะมีวิธีการใช้ยังไงบ้าง ไปดูกันเลย
Noun (คำนาม)
ชนิดของคำประเภทแรกของการเรียน Grammar ที่หลาย ๆ คนรู้จัก และเป็นส่วนหนึ่งของ Part of Speech ด้วยนั่นคือ ‘Noun’ หรือ คำนาม ซึ่งใช้เรียก คน, สัตว์, สิ่งของ หรือสถานที่
คำนามมีทั้งคำนามเอกพจน์และพหูพจน์ มักจะนำหน้าด้วย a, an, the ที่เรียกว่าคำนำหน้านาม หรือ Determiner โดยคำนามจะมีหน้าที่ในประโยคที่หลากหลายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นประธาน, ส่วนขยายประธาน, กรรมตรง, กรรมรอง และกรรมของคำเชื่อมหรือคำสันธาน
คำนามยังสามารถแยกประเภทของคำนามได้อีกดังต่อไปนี้
1. Countable Noun (คำนามนับได้)
คำนามนับได้ จะเป็นคำที่สามารถนับเป็นจำนวนตัวเลขได้ เป็นได้ทั้งคำนามเอกพจน์ และคำนามพหูพจน์ การทำคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ก็จะเป็นการเติม -s และ -es แต่ในบางคำก็จะเปลี่ยนรูปพหูพจน์ไปเลย
ตัวอย่าง Countable Noun
Doll (ตุ๊กตา)
- One doll (ตุ๊กตาหนึ่งตัว)
- Three dolls (ตุ๊กตา 3 ตัว)
Box (กล่อง)
- One Box (กล่อง 1 ใบ)
- Two Boxes (กล่อง 2 ใบ)
Child (เด็ก)
- One Child เด็ก 1 คน
- Four Children เด็ก 4 คน
2. Uncountable Noun
Uncountable Noun หรือ คำนามนับไม่ได้ คำนามชนิดนี้จะใช้แทนสิ่งที่ไม่สามารถนับออกมาระบุเป็นตัวเลขได้ หรือสิ่งของที่มีขนาดเล็กมารวมกันในปริมาณมากจนไม่สามารถนับได้ เช่น Sand, Sugar, Salt หรือ Flour
ในการระบุจำนวนคำนามนับไม่ได้ บางคำจะต้องมีตัวช่วยหรือภาชนะที่จะช่วยให้สามารถนับเป็นจำนวนได้ และการใส่ -s หรือ -es จะถูกยกไปใช้ในคำช่วยแทน ยกตัวอย่างเช่น
- A piece of cake (เค้ก 1 ชิ้น)
- A cup of coffee (กาแฟ 1 แก้ว)
- Two bottles of water (น้ำ 2 ขวด)
นอกจากคำนามที่ระบุเป็นคำอย่างเห็นได้ชัดตามตัวอย่างข้างต้นแล้ว ยังมีคำนามชี้เฉพาะ (Proper Nouns), สมุหนาม (Collective Nouns) และอาการนาม (Abstract Nouns) รวมถึงมีคำศัพท์ที่อาจจะยากในการระบุว่าเป็นคำนามหรือไม่อีกด้วย แต่เรามีข้อสังเกตจากรากศัพท์ที่บ่งบอกว่าคำศัพท์นั้นเป็นคำนามได้ เช่น
- -ion : evaluation (การประเมิน), tradition (ประเพณี)
- -ance : performance (การแสดง)
- -ment : agreement (ข้อตกลง), entertainment (ความบันเทิง)
- -er : teacher (ครู), pattern maker (ช่างทำแพทเทิร์น หรือช่างตัดชุด)
- -ence : silence (ความเงียบ)
- -ness : joyfulness (ความปีติยินดี)
ตัวอย่างการใช้ Noun (คำนาม) ใน Part of Speech
- Joel got a gift from Alice. (โจเอลได้รับของขวัญจากอลิซ)
- Claire bought a book. (แคลร์ซื้อหนังสือ 1 เล่ม)
Pronoun (คำสรรพนาม)
คำสรรพนาม (Pronoun) เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำนาม (คน, สัตว์, สิ่งของ, สถานที่) เพื่อให้รูปประโยคมีความกระชับมากยิ่งขึ้น เช่น I, you, we, they, he, she และ it เป็นต้น
โดยคำสรรพนาม จะสามารถแบ่งเป็นประเภทย่อยได้อีก 5 ประเภท ได้แก่
- Relative Pronoun (ประพันธสรรพนาม)
- ใช้ขยายประธานหรือกรรม
- ตัวอย่างคำ : who, whom, whose, when, where, that และ which
- Possessive Pronoun (แสดงความเป็นเจ้าของ)
- ใช้แสดงความเป็นเจ้าของว่าสิ่งไหนเป็นของใคร
- ตัวอย่างคำ : mine, its, ours, yours, his, hers, theirs
- Demonstrative Pronoun (สรรพนามบ่งชี้)
- ใช้เพื่อบ่งชี้ว่าสิ่งไหนคืออะไร
- ตัวอย่างคำ : this, that, those, these, one, ones
- Reflexive Pronoun (สรรพนามสะท้อนตนเอง)
- ใช้เมื่อประธานและกรรมเป็นคนหรือกลุ่มเดียวกัน
- ตัวอย่างคำ : myself, itself, himself, herself, ourselves, themselves, theirselves, yourself, yourselves
- Interrogative Pronouns (สรรพนามคำถาม)
- ใช้เมื่อต้องการตั้งคำถาม
- ตัวอย่างคำ : what, who, whose, whom, which
ตัวอย่างประโยคการใช้ Pronoun ใน Part of Speech
- Sunny is sad because she lost her wallet. (ซันนี่เศร้าเพราะทำกระเป๋าสตางค์หาย)
ในประโยคนี้ she แทนตัวของ Sunny เพื่อให้รูปประโยคมีความลื่นไหลมากขึ้นแทนการระบุชื่อ Sunny โดยตรงอีกครั้ง
- He gave her a bouquet. (เขาให้ช่อดอกไม้แก่เธอ)
Verb (คำกริยา)
Verb หรือคำกริยา เป็นคำที่บ่งบอกการกระทำหรือแสดงอาการของคำนามและคำสรรพนาม รวมถึงสถานะของคำนามเช่นกัน
คำกริยาจะมีการผันคำศัพท์เพื่อบ่งบอกกาล (Tenses) หรือช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น
Base form | Past Simple | Past participle | ความหมาย |
do | did | done | กระทำ / ปฏิบัติ |
watch | watched | watched | ดู |
sleep | slept | slept | นอน |
eat | ate | eaten | กิน / รับประทาน |
คำกริยายังสามารถแบ่งประเภทได้อีก 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
- Action Verb (กริยาแสดงการกระทำ)
- แสดงการกระทำต่าง ๆ
- อาจเติม -ing เพื่อบ่งบอกว่า “กำลัง” กระทำกริยานั้นอยู่
- ตัวอย่างคำศัพท์ : dance, read, walk, cry
- Linking Verb (กริยาเชื่อม)
- กริยาคำเชื่อมที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ
- ใช้เชื่อมประโยคระหว่างประธาน และข้อมูลที่ต้องการจะสื่อ
- เป็นรูปแบบหนึ่งของ Verb to be เช่น was, were
- ตัวอย่างประโยค
- The cat was there. (แมวเคยอยู่ตรงนั้น)
- Helping Verb/Auxiliary (กริยาช่วย)
- ช่วยเติมประโยคให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
- ประกอบด้วย verb to be, verb to have, verb to do, modal verb
- ตัวอย่างคำกริยาช่วย : will, would, shall ,should, must, may, might
Adjective (คำคุณศัพท์)
Adjective หรือคำคุณศัพท์ เป็นคำที่จะมาใช้ขยายคำนามหรือสรรพนามเพื่อบ่งบอกลักษณะของสิ่งเหล่านั้น ให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น beautiful (สวย), cute (น่ารัก), tall (สูง)
คำคุณศัพท์ยังสามารถแบ่งประเภทได้อีกดังนี้
- Possessive Adjectives (แสดงความเป็นเจ้าของ)
- จะอยู่นำหน้าคำนามเสมอ เพราะเป็นการแสดงออกถึงความเป็นเจ้าของ
- ตัวอย่างคำคุณศัพท์ : my, your, his, her, our, its, their
- Comparative Adjectives (แสดงการเปรียบเทียบขั้นกว่า)
- เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้เปรียบเทียบระหว่าง 2 สิ่งในขั้นกว่า
- มักจะเติม -er ต่อท้ายคำศัพท์เพื่อแสดงถึงขั้นกว่าของสิ่งเหล่านั้น ต่อด้วยคำว่า than เช่น prettier than …, taller than …
- ในบางคำจะเป็นการเติม more หรือ less นำหน้าคำศัพท์โดยคำไม่เปลี่ยนรูป เช่น more expensive than …, less interest than …
- Superlative Adjectives (แสดงการเปรียบเทียบขั้นสุด)
- ใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างคน, สัตว์, สิ่งของ หรือสถานที่ซึ่งมี 3 จำนวนขึ้นไปในขั้นสุด
- มักเติม -est ต่อท้ายคำศัพท์ หรือ the most, the least หน้าคำศัพท์นั้น ๆ
- Distributive Adjectives (คุณศัพท์แบ่งแยก)
- ใช้แยกคำนามออกเป็นส่วน
- ตัวอย่างคำคุณศัพท์ : each, every, either, neither
- Description Adjectives (คุณศัพท์บอกลักษณะ)
- ใช้อธิบายถึงลักษณะของคน, สัตว์, สิ่งของ, สถานที่ หรือนิสัย
- ตัวอย่างคำคุณศัพท์ : short, tall, fluffy, thin, good
ตัวอย่างการใช้ Adjective ในประโยคของ Part of Speech
- My hair is longer than hers. (ผมของชั้นยาวกว่าผมของหล่อน)
จะเห็นได้ว่าในประโยค มีการใช้ Possessive Adjective เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ และ Comparative Adjective เพื่อเปรียบเทียบว่าผมของประธานยาวกว่า
- Fukuoka is the most beautiful place I’ve ever seen.
‘The most beautiful’ เป็นคำคุณศัพท์แบบ Superlative ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบขั้นสุดในบรรดาสถานที่ที่ประธานในประโยคกล่าวถึง
Adverb (คำวิเศษณ์)
คำวิเศษณ์ (Adverb) จะเป็นคำที่ช่วยขยายกริยาเพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าประธานและกริยานั้นรู้สึกอย่างไร หรือเกิดขึ้นอย่างไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และเท่าไหร่
คำวิเศษณ์มักจะมีการเติม -ly ไว้ท้ายคำศัพท์เพื่อขยายกริยาหรือคำคุณศัพท์ และมักอยู่ด้านหน้าหรือหลังคำกริยา สามารถแบ่งออกตามประเภทการบอกลักษณะของ Adverb ได้ดังนี้
- Adverb of Manner บอกอารมณ์ อาการ และความรู้สึก เช่น happily, sadly, slowly
- Adverb of Place บอกสถานที่ที่เกิดการกระทำ เช่น up there, under, there, somewhere
- Adverb of Time บอกเวลาที่เกิดการกระทำ เช่น yesterday, ago, since, after, before
- Adverb of Frequency บอกความถี่ที่เกิดการกระทำ เช่น always, lately, again, never, often, every day
ตัวอย่างประโยค Part of Speech ที่มีการใช้ Adverb
- I’m always writing a diary before I go to bed. (ฉันมักจะเขียนไดอารี่ก่อนนอน)
จากประโยคจะมีการใช้ always ซึ่งเป็นการบ่งบอกความถี่ของการเขียนไดอารี่ก่อนนอน
- We will live happily ever after. (พวกเราจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตลอดไป)
Preposition (คำบุพบท)
คำบุพบท (Preposition) หรือเรียกอีกอย่างว่าคำเชื่อม จะทำหน้าที่เชื่อม Noun, Pronoun, Verb เพื่อแสดงความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ของรูปประโยค โดยจะเป็นการบอกเวลา, ทิศทาง, ตำแหน่ง หรือสถานที่ มักจะนำหน้า Noun และ Pronoun
คำบุพบท (Preposition) แบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่
- Simple Preposition เช่น in, on, at, with, up, down, from
- Double Preposition คำบุพบทผสม มีมากกว่า 1 คำ เช่น into, out of, within, next to
- Compound Preposition เช่น beyond, throughout, inside, outside
- Prepositions of Time คำบุพบทบอกเวลา เช่น since, until, at
- Participle Preposition คำบุพบทที่ลงท้ายด้วย -ing, -ed, -en เช่น provided, taken, regarding
- Preposition of Place คำบุพบทบอกตำแหน่งและสถานที่ เช่น on the street, in a building
ตัวอย่างประโยค Part of Speech ที่มีการใช้ Preposition
- I have lived in Paris since I was 11. (ฉันอาศัยอยู่ในปารีสตั้งแต่อายุ 11 ปี)
- The rose vase is on the table. (แจกันดอกกุหลาบอยู่บนโต๊ะ)
Conjunction (คำเชื่อม)
Conjunction คำสันธานหรือคำเชื่อม จะทำหน้าที่เชื่อมประโยค คำ หรือวลีให้มีความต่อเนื่องและสละสลวย เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น โดยจะมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
- Coordinating Conjunction
ประเภทแรกจะเป็นคำเชื่อมที่พบเห็นได้ทั่วไปบ่อย ๆ มักจะถูกใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยคที่มีความสำคัญเท่ากัน หรือเป็นประเภทเดียวกัน ตัวอย่างคำเชื่อม เช่น But, And, So, Or, For
- Subordinating Conjunction
คำเชื่อมประเภทนี้มักจะอยู่ตรงกลางประโยค หรือหน้าประโยค ทำหน้าที่เชื่อมประโยคหลักและประโยคย่อยเข้าด้วยกันเพื่อให้ประโยคดูสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างคำเชื่อม เช่น as soon as, even though, although, whenever
- Correlative Conjunction
ในประเภทนี้จะเป็นคำเชื่อมที่จะต้องใช้ด้วยกันเสมอ เช่น not only… but also, either… or, neither… nor, both… and เป็นต้น ตัวอย่างประโยค Part of Speech ที่มีการใช้ Conjunction
- I love both cats and dogs. (ฉันชอบทั้งแมวและสุนัข)
- Please send me the parcel as soon as possible. (โปรดส่งพัสดุให้ฉันให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้)
Interjection (คำอุทาน)
Interjection หรือคำอุทาน เป็นคำที่จะใช้แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ได้ทั้งทางบวกและทางลบ โดยการใช้คำอุทานมักจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) ประกอบ แต่การจะทราบอย่างแน่ชัดว่าคำอุทานแสดงความรู้สึกไปไหนทิศทางไหนนั้น จะต้องพิจารณาร่วมกับบริบทของประโยค
ตัวอย่างประโยค Part of Speech ที่มีการใช้ Interjection
- Oh my god! I broke my camera! (โอ้พระเจ้า ฉันทำกล้องถ่ายรูปพัง)
- Phew! At least no one got hurt. (เฮ้อ อย่างน้อยก็ไม่มีใครเจ็บตัว)
ตัวย่อของ Part of Speech แต่ละประเภทเขียนอย่างไร
เราได้บอกรายละเอียดประเภทของคำศัพท์ Part of Speech พร้อมคำแปลประโยคไปเรียบร้อยแล้ว แต่ด้วยจำนวนที่มากถึง 8 ประเภท และยังมีประเภทแยกย่อยอีก ดังนั้นเพื่อความง่ายในการทบทวนสรุป Part of Speech คำแต่ละประเภทจะมีตัวย่อให้สามารถเขียนและจดจำได้ง่ายด้วยเช่นกัน
โดย Part of Speech ตัวย่อคำแต่ละประเภท สามารถเขียนได้ดังนี้
- คำนาม : Noun (n.)
- คำสรรพนาม : Pronoun (pron.)
- คำกริยา : Verb (v.)
- คำคุณศัพท์ : Adjective (adj.)
- คำวิเศษณ์ : Adverb (adv.)
- คำบุพบท : Preposition (prep.)
- คำเชื่อมหรือคำสันธาน : Conjunction (conj.)
- คำอุทาน : Interjection (inj.)
เรียนรู้เกี่ยวกับ Part of Speech และหลัก Grammar ภาษาอังกฤษ ได้ที่สถาบันสอนภาษา Englishparks
หากต้องการปูพื้นฐาน Grammar หรือเรียนรู้เกี่ยวกับ Part of Speech อย่างละเอียด สามารถเลือกลงคอร์สเรียนกับทางโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ Englishparks โดยทางสถาบันมีคอร์สเรียนให้เลือกหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน ไม่มีพื้นฐานมาก่อนเลยก็สามารถเรียนได้
Part of Speech ถือเป็นหนึ่งในหลักไวยากรณ์สำคัญที่ต้องใช้ความเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและการสอบ ทางสถาบันจึงมีคอร์สเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานที่จะปูความรู้เรื่องไวยากรณ์ให้สามารถต่อยอดไปสู่ระดับที่สูงขึ้นได้
หรือหากใครมีความกังวลเรื่องพื้นฐานภาษาอังกฤษของตัวเอง ไม่ค่อยมีเวลา แต่ต้องการพัฒนาทักษะอย่างจริงจัง อาจลองเข้ารับการทดสอบระดับภาษา และเลือกคอร์สเรียนภาษาอังกฤษแบบตัวต่อตัว เพื่อให้ได้เรียนในเนื้อหาที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
Part of Speech เก่งอังกฤษขึ้นได้ ถ้าเข้าใจประเภทและหน้าที่ของคำ
Part of Speech คือหน้าที่และประเภทของคำที่ใช้ในประโยค เป็นหนึ่งในหลักไวยากรณ์ที่สำคัญที่มักพบเจอได้บ่อยทั้งในการสอบและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ประเภทของคำแต่ละชนิดก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นประธานในประโยคอย่างคำนาม (Noun) หรือคำสรรพนาม (Pronoun) หรือคำขยายส่วนต่าง ๆ ในประโยคเพื่อให้รูปประโยคมีความสละสลวยมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้นอกจากจะช่วยพัฒนาทักษะการเรียนภาษาอังกฤษของเราแล้ว เมื่อนำไปใช้สื่อสารก็จะทำให้การพูดนั้นดูมืออาชีพและลื่นไหลมากขึ้น
ดังนั้น Part of Speech จึงเป็นหลักไวยากรณ์ที่ต้องให้ความใส่ใจ และพยายามเพื่อให้คุ้นเคยกับมันมากที่สุด เพราะจะเป็นประโยชน์ทั้งการนำไปสอบ และการนำไปใช้ในชีวิตจริงอย่างแน่นอน หากสนใจคอร์สเรียนภาษาอังกฤษเรื่อง Part of Speech เลือกเรียนเสริมทักษะด้านไวยากรณ์กับโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ Englishparks สถาบันสอนภาษาที่เข้าใจนักเรียนไทย และเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษมายาวนานกว่า 15 ปี